www tup.ac.th
เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ   ครบรอบวารสถาปนา   สามทศวรรษจรัสค่า   งามสง่าสถาบัน   สอนศิษย์ให้ซื่อสัตย์   อีกประหยัดและขยัน   สามัคคีร่วมใจกัน   พร้อมมุ่งมั่นมีวินัย   สุภาพและสะอาด   แสนเปรื่องปราดมีน้ำใจ   คุณธรรมน้อมนำไป   ส่งเสริมให้ประพฤติดี   เศรษฐกิจที่พอเพียง   ช่วยหล่อเลี้ยงชีพสุข   ความรู้คู่ความดี   พาชีวีมีสุขเอย  
โครงการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน
    เปิดบ้านคุณธรรมชั้นนำ
    คลินิกทักษะการดำรงชีวิต
   ระบบ SDQ
   คนดีศรีเตรียมพัฒน์
   เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน
   สามทศวรรษเตรียมพัฒน์
   การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม
   การจัดระเบียบค่าใช้จ่ายส่วนตน
  โปรแกรมพัฒนานักเรียน
 การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 
  ด้านที่ 1 คุณภาพนักเรียน
  ด้านที่ 2 กระบวนการ
  ด้านที่ 3 ปัจจัย

Calendar


คลินิกทักษะการดำรงชีวิต

 กิจกรรม : ชีวิตดีมีสุข

ความเป็นมา
     วัยรุ่นนับว่าเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิต  เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงระหว่างความเป็นเด็กสู่ความเป็นผู้ใหญ่  การเข้าใจวัยรุ่น  การให้ความรู้ด้านทักษะชีวิต  ตลอดจนการเปิดโอกาสให้วัยรุ่นได้รับบริการให้คำปรึกษา  คำแนะนำอย่างถูกต้องเหมาะสม  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความคิดของวัยรุ่นได้
     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ  ซึ่งนักเรียนล้วนแต่อยู่ในวัยรุ่นทั้งสิ้น  จึงมีความจำเป็นโรงเรียนต้องให้ความสนใจดูแลอย่างใกล้ชิด  ประกอบกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนที่มุ่งพัฒนา และส่งเสริมนักเรียนให้รู้จักตนเอง  เข้าใจผู้อื่น  มีบุคลิกภาพดี  เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข  กลุ่มบริหารงานบุคคลจึงเห็นควรจัดทำคลินิกทักษะการดำรง   ชีวิตขึ้น  เพื่อให้ความรู้ด้านทักษะชีวิตแก่นักเรียน  ตลอดจนให้คำแนะนำ  คำปรึกษา  และความช่วยเหลือที่ถูกต้องเหมาะสม  อันจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของวัยรุ่นได้
 
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ด้านทักษะชีวิต  และเพิ่มพูนทักษะการแก้ปัญหา
  2. เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือได้รับคำปรึกษา แนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น
  3. เพื่อให้นักเรียนที่ได้รับการฝึกฝนอบรมด้านทักษะชีวิตเป็นผู้ให้คำปรึกษาเพื่อนช่วยเพื่อนได้
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

แผนผังแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานการให้คำปรึกษา

 
การให้บริการของคลินิกทักษะการดำรงชีวิต
  1. จัดบอร์ดให้ความรู้ด้านทักษะชีวิต
  2. มุมหนังสือที่ให้ข้อคิดและเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตแก่นักเรียน
  3. แบบทดสอบด้านทักษะชีวิต  เช่น  ภาพลักษณ์ของฉัน  จุดดีของฉัน  ความกลัวของฉันและวิธีชนะความกลัว  ฉันให้คุณค่าแก่สิ่งต่าง ๆ อย่างไร  เป็นต้น   
  4. ให้คำแนะนำ  คำปรึกษาและความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่นักเรียนที่ต้องการรับคำปรึกษา
  5. ประสานงานในการให้นักเรียนที่อยู่ในชุมนุมทักษะชีวิตได้มีโอกาสช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษาเพื่อน ๆ
ผลการดำเนินงาน
     1. เชิงปริมาณ

     ผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของคลินิกทักษะการดำรงชีวิต สามารถสรุปได้ดังนี้

     จากตารางด้านบนนี้แสดงให้เห็นว่าจำนวนนักเรียนที่มาใช้บริการคลินิกทักษะการดำรงชีวิตมีเพิ่มมากขึ้นทุกปีการศึกษาตามลำดับ

     2. เชิงคุณภาพ
     จากการประเมินแบบสอบถามความพึงพอใจการให้บริการคลินิกทักษะการดำรงชีวิต สามารถสรุปได้ดังนี้


     ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนได้แต่งตั้งคณะกรรมการคลินิกทักษะการดำรงชีวิต ซึ่งประกอบด้วย ครูประจำการ และได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น เช่น นักจิตวิทยา จากมูลนิธิห่วงใยเยาวชนมาร่วมให้บริการด้านคำปรึกษา
     ปีการศึกษา 2549 - 2550 คณะกรรมการคลินิกทักษะการดำรงชีวิตได้พัฒนาปรับปรุงการบริการให้ มีคุณภาพและหลากหลายมากขึ้น เช่น มีบริการแบบทดสอบด้านทักษะชีวิต นอกจากนี้ได้เชิญนักจิตวิทยา จากมูลนิธิห่วงใยเยาวชน และจิตแพทย์ จากโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ มาให้บริการด้านคำปรึกษาทุกสัปดาห์
     จากการให้บริการด้านต่าง ๆ ของคลินิกทักษะการดำรงชีวิตทำให้นักเรียนมีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น คลายความเครียด รู้สึกสบายใจ มีความสุขและมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น สามารถปรับตัวได้ดี ทำให้ผ่านพ้นวิกฤตของชีวิต และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ปัจจัยความสำเร็จ

  1. มีคณะกรรมการที่ตระหนักและให้ความสนใจในการช่วยเหลือและดูแลนักเรียน ตลอดจนอุทิศเวลาอย่างสม่ำเสมอในการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน
  2. ได้รับความร่วมมือจากองค์กรเยาวชนและศิษย์เก่าที่เป็นจิตแพทย์มาร่วมกันให้คำปรึกษาและดูแลนักเรียน
  3. ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคุณครูที่ปรึกษา หัวหน้าระดับ ผู้ปกครอง ในการให้ข้อมูลตลอดจนการดูแลและติดตามนักเรียน
  4. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการช่วยเหลือ สนับสนุน และพัฒนานักเรียน

บทเรียนที่ได้รับ

  1. เพิ่มพูนความรู้คณะครูในการช่วยเหลือดูแลนักเรียนตามหลักจิตวิทยา
  2. จัดทำฐานข้อมูลของนักเรียนให้ครบถ้วน เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล

แนวทางการพัฒนาในอนาคต

  1. เชิญผู้ปกครองที่มีความรู้ ความสามารถ ด้านการดูแลและพัฒนานักเรียนมาร่วมทำงานกับโรงเรียน
  2. จัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านจิตวิทยาและการให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการคลินิกทักษะการดำรงชีวิต
  3. เพิ่มตารางเวลาการให้คำปรึกษาของนักจิตวิทยา และจิตแพทย์ให้เพิ่มมากขึ้น
  4. ร่วมมือกับสถานพยาบาลและองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษานักเรียน

:: TOP ::