แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น
Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D) ฉบับภาษาไทย
บทนำ
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาทางจิตเวชสูงขึ้นเมื่อเทียบกับวัยเด็ก ในบรรดาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นนั้น ภาวะซึมเศร้า (depression) จัดเป็นปัญหาที่สำคัญ ทั้งนี้เพราะความชุก และอัตราตายที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาจิตเวชอื่นๆ ในต่างประเทศมีการศึกษาเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นจำนวนมากในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ผลการศึกษาชี้ว่าวัยรุ่นป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในอัตราที่ค่อนข้างสูง ความชุกมีตั้งแต่ร้อยละ 8,-30 ขึ้นอยู่กับวิธีการและประชากรที่ศึกษา
CES-D (Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale) เป็นเครื่องมือวัดอาการซึมเศร้าประเภท self-report เช่นเดียวกับ CDI เครื่องมือนี้พัฒนาขึ้นมาโดยนักวิจัยแห่ง Center for Epidemiologic Studies ที่ National Institute of Mental Health ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อวัดอาการซึมเศร้าในผู้ใหญ่โดยเฉพาะในการสำรวจในชุมชน
คุณสมบัติของเครื่องมือ
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุมาพร ตรังคสมบัติ ได้นำ CES-D มาแปลเป็นภาษาไทย และศึกษาค่าทางสถิติจากการศึกษาในวัยรุ่นไทย พบว่า ความเที่ยงของ CES-D วัดโดย Cronbach’s Coefficient Alpha มีค่าเท่ากับ 0.86 การศึกษาความตรงในการจำแนกพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าเฉลี่ย = 25.6 และ 15.4 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 808 และ 6.7 ตามลำดับ P ต่ำกว่า 10) นอกจากนี้คะแนน CES-D จะสูงขึ้นตามความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าจาก receiver operating characteristic curve พบว่า คะแนนที่ 22 เป็นจุดตัดที่ใช้คัดกรองภาวะซึมเศร้าได้ดีที่สุด โดยที่คะแนนนี้ CES-D จะมีความไวร้อยละ 72 ความจำเพาะร้อยละ 85 และความแม่นยำร้อยละ 82
วัตถุประสงค์
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า เพื่อแยกวัยรุ่น (อายุระหว่าง 15-18 ปี) ที่ซึมเศร้า ออกจากวัยรุ่นที่ไม่ซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการใช้
เครื่องมือนี้ประกอบด้วยข้อความ 20 ข้อ ซึ่งเกี่ยวกับอาการซึมเศร้าในระยะเวลา 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวเลือกเกี่ยวกับความรุนแรง ใช้ได้ในวัยรุ่นอายุ 15-18 ปี ตัวเลือกเกี่ยวกับความรุนแรง หรือความถี่ของอาการซึมเศร้ามี 4 ระดับ คือ
ไม่เลย (คะแนน 0)
บางครั้ง (คะแนน 1)
บ่อยๆ (คะแนน 2)
ตลอดเวลา (คะแนน 3)
คะแนนรวม มีได้ตั้งแต่ 0-60
การให้คะแนนและการแปลผลแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (CES-D) ฉบับภาษาไทย
ไม่เลย (< 1 วัน) ให้ |
0 คะแนน |
บางครั้ง (1-2 วัน) ให้ |
1 คะแนน |
บ่อย ๆ (3-4 วัน) ให้ |
2 คะแนน |
ตลอดเวลา (5-7 วัน) ให้ |
3 คะแนน |
การแปลผล
เมื่อรวมคะแนนทุกข้อแล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่กำหนดดังนี้คะแนนรวมสูงกว่า 22 ถือว่าอยู่ในข่ายภาวะซึมเศร้าสมควรได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อช่วยเหลือต่อไป
การนำไปใช้ประโยชน์
CES-D เป็นเครื่องมือที่ประหยัด ง่ายต่อการใช้ และสามารถวิเคราะห์ผลได้รวดเร็ว จึงควรใช้เป็นเครื่องมือตรวจหาและประกอบการวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น และให้การช่วยเหลือต่อไป
ข้อจำกัด
การวินิจฉัยในประเทศไทย มีการศึกษาเฉพาะในวัยรุ่นเพศชายเท่านั้น จึงอาจไม่ครอบคลุมถึงกรณีของวัยรุ่นหญิง
เอกสารอ้างอิง
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอุมาพร ตรังคสมบัติ, นพ. วชิระ ลาภบุญทรัพย์ และปิยลัมพร หะวานนท์ การใช้ CES-D ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 2540: 42 (1)
การเผยแพร่
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอุมาพร ตรังคสมบัติ, นพ. วชิระ ลาภบุญทรัพย์ และปิยลัมพร หะวานนท์ การใช้ CES-D ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 2540: 42 (1)
บุคคลที่สะดวกในการติดต่อประสานงานในการศึกษาเรื่องนี้
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอุมาพร ตรังคสมบัติ
หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ 0-2256-5176
โทรสาร 0-2256-5176 |